ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ใหม่)ที่คุณต้องรู้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ใหม่)ที่คุณต้องรู้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ใหม่)ที่คุณต้องรู้

หลายคนคงได้ยินเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเริ่มใช้ในปี 2563 กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นเจ้าของอยู่นั้นต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่ วันนี้เรามีคำตอบพร้อมรายละเอียดแบบเข้าใจง่ายให้อ่านกันครับ
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 (พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ฉบับใหม่นี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เริ่มบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 และกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 (ล่าสุด ได้เลื่อนการบังคับใช้ไปเป็นช่วงเดือนสิงหาคม 2563) โดยจะใช้แทนฉบับเดิม คือการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ที่จะถูกยกเลิกไป
สำหรับ พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2562 ที่จะบังคับใช้ประมาณเดือนสิงหาคม 2563 นั้น ผู้ที่ต้องเสียภาษีคือ ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกคน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และต้องเป็นผู้มีชื่อถือครองโฉนดด้วย โดยจะเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถือครองอยู่ ส่วนอัตราภาษีนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
 

  1. ที่อยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.3%
<
 
  1. เกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%

    3.พาณิชกรรมและอุตสาหกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.2%

  1. ที่รกร้างว่างเปล่า เพดานภาษีสูงสุด 1.2% แต่จะเพิ่มเพดานเป็น 3% เมื่อปล่อยรกร้างว่างเปล่า ติดต่อกัน 3 ปี

วิธีการคำนวณภาษีที่ดิน
การคิดภาษีที่ดินแต่ละประเภทจะใช้มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินจากกรมธนารักษ์ โดยจะมีการปรับตามรอบบัญชีประเมินราคาทุก 4 ปี ซึ่งแยกวิธีคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายออกเป็น ดังนี้ 
-ที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี
โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
-มีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) - ค่าเสื่อมราคา
-ห้องชุด
ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี
โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)

(หมายเหตุ : กรมธนารักษ์จะเป็นผู้กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด และอัตราค่าเสื่อมราคา)
ส่วน ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น ไม่โดนเก็บภาษีที่ดิน มีดังนี้
1. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
3. ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
4. ที่ทำการองค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
5. สถานทูต หรือสถานกงสุลต่างประเทศ
6. ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย
7. ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์
8. ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะ หรือฌาปนสถานสาธารณะ
9. มูลนิธิหรือองค์การที่ประกอบกิจการสาธารณะ
10. ทรัพย์สินของเอกชน ที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
11. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และหมู่บ้านจัดสรร
12. ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://wow.in.th/QMxp
 

1/28/2020 11:19:22 AM