รู้จักกับ“ถนนรัชดาภิเษก” ถนนเส้นสำคัญ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รัชดา-พระราม9

รู้จักกับ“ถนนรัชดาภิเษก” ถนนเส้นสำคัญ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รัชดา-พระราม9

รู้จักกับ“ถนนรัชดาภิเษก” ถนนเส้นสำคัญ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รัชดา-พระราม9

 
เชื่อว่าหลายๆคนที่เดินทางในกรุงเทพฯบ่อยๆ  คงรู้จักถนนรัชดาภิเษก และสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมขับรถไปแต่ละที่ กลับเจอถนนรัชดาภิเษกอยู่เยอะไปหมด ทั้งที่ไม่ใช่ทำเลพระราม 9 ซึ่งจริงๆแล้ว ถนนรัชดาภิเษกนั้น ไม่ได้มีแค่โซนรัชดา(พระราม9) แต่ถนนรัชดาภิเษก มีระยะทางล้อมรอบแทบจะทั่วทั้งกรุงเทพมหานครกันเลยทีเดียว ไปดูกันครับว่า ถนนรัชดาภิเษกที่ทุกคนคุ้นหูคุ้นตานั้น ตัดผ่านทำเลไหนบ้าง
 
รู้จักถนนวงแหวนรอบนอกกันไหมครับ?
แล้วสงสัยกันไหมว่า เมื่อมีถนนวงแหวนรอบนอกแล้ว ถนนวงแหวนรอบใน มีไหม? คือที่ไหน?
คำตอบคือมี และถนนวงแหวนรอบในก็คือ “ถนนรัชดาภิเษก”หรือ “ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก” นั่นเอง
 
ระยะทาง 45 กิโลเมตร คือความยาวของถนนรัชดาภิเษก ถือว่าค่อนข้างยาวมาก ถ้าเทียบกับถนนเส้นอื่นๆในกรุงเทพมหานคร  
และเนื่องจากถนนรัชดาภิเษกนั้น ไม่ได้สร้างพร้อมกันในคราวเดียว บางจุดจึงมีชื่อถนนที่แตกต่างกันไป เช่น ถนนอโศกมนตรี ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนวงศ์สว่าง ถนนมไหศวรรย์ เป็นต้น ซึ่งถนนเหล่านี้ล้วนเป็นถนนในวงแหวนรัชดาภิเษกทั้งหมด
 
แล้วถนนรัชดาภิเษก ตัดผ่านทำเลไหนบ้าง?
 
เนื่องจากจุดเชื่อมถนนรัชดาภิเษกนั้น ไม่ได้เป็นชื่อถนนรัชดาภิเษกตลอดทั้งสาย จึงขอสรุปเส้นทางเชื่อมต่อถนนรัชดาภิเษก เป็นจำนวน 9 จุด ดังนี้
 
จุดที่ 1 กันที่ทำเลรัชดา(พระราม9)กันเลย ซึ่งเป็นทำเลที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี ถนนนรัชดาภิเษกบนทำเลนี้ จะเริ่มตั้งแต่แยกวงสว่าง ยาวมาจนถึงบริเวณสะพานข้ามแยกประชานุกูล ผ่านอุโมงค์แยกรัชวิภาหรือแยกตึกช้าง ลอดอุโมงค์แยกสุทธิสาร ลอดอุโมงค์แยกห้วยขวาง ไปจนถึงแยกพระราม 9 บริเวณเซ็นทรัลพระราม9นั่นเอง
จุดที่ 2 คือทำเลอโศกดินแดง และอโศกมนตรี โดยเส้นนี้จะเชื่อมกันมาจากแยกพระราม 9 ยาวไปจนถึงแยกอโศก หรือบริเวณ MRT สุขุมวิทนั่นเอง
จุดที่ 3 คือทำเลที่เชื่อมต่อกันมาจากแยกอโศก โดยจุดนี้เรียกว่าถนนรัชดาภิเษก วิ่งผ่านสวนเบญจกิติ ผ่านศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผ่านแยกพระราม 4 ยาวไปจนถึงแยก ณ ระนอง
จุดที่ 4 คือทำเลพระราม 3 จะเรียกถนนเส้นนี้ว่า ถนนพระราม 3 เริ่มจากแยก ณ ระนอง ไปจนถึงบริเวณก่อนถึงแยกนางลิ้นจี่
จุดที่ 5 เรียกถนนเส้นนี้ว่า ถนนรัชดาภิเษก เริ่มจากแยกนางลิ้นจี่ ผ่านแยกรัชดา-นราธิวาส ผ่านแยกด่วนสาธุประดิษฐ์ ไปสิ้นสุดที่แยกพระราม3-รัชดา
จุดที่ 6 เรียกถนนเส้นนี้ว่า ถนนพระราม 3 เริ่มจาก แยกพระราม 3- รัชดา ผ่านเทอร์มินอล21 พระราม3 ยาวไปจนถนนสะพานกรุงเทพ สิ้นสุดที่แยกมไหศวรรย์
จุดที่ 7 เริ่มจากแยกมไหศวรรย์ ผ่านอุโมงค์รัชดา-ราชพฤก ไปสิ้นสุดที่ อุโมงค์ท่าพระ
จุดที่ 8 เรียกถนนเส้นนี้ว่า ถนนจรัญสนิทวงศ์ เริ่มจากอุโมงค์ท่าพระ ผ่านแยกบรมราชชนนี ผ่านแยกบางพลัดไปบรรจบที่ถนนวงศ์สว่าง
จุดที่ 9 เริ่มจากถนนวงศ์สว่าง(ฝั่งจรัญสนิทวงศ์) ข้ามสะพานพระราม 7 ไปจนถึงแยกวงศ์สว่าง
 
ที่มาของถนนรัชดาภิเษกนั้น มาจาก ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2514 เป็นปีที่มีการจัดงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี
ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสให้สร้างถนนวงแหวนรอบเมือง แทนการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ ที่รัฐบาลในสมัยนั้นจะจัดสร้างให้ และนั่นคือที่มาของชื่อถนน “รัชดาภิเษก” นั่นเองครับ
 
ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก ยังเป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสำคัญของกรุงเทพมหานคร คือ “รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นสายที่มีลักษณะวนรอบเมือง เช่นเดียวกันกับถนนรัชดาภิเษก แต่แนวรถไฟฟ้าจะไม่ได้วิ่งไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกตลอดสาย จะมีการลัดวงในบางส่วน
 
โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีสถานีที่อยู่บนถนนวงแหวนรัชดาภิเษกถึง 16 สถานี ได้แก่  รัชดาภิเษก สุทธิสาร ห้วยขวาง ศูนย์วัฒนธรรม พระราม9 เพชรบุรี สุขุมวิท ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ท่าพระ จรัญฯ13 ไฟฉาย บางขุนนนท์ บางยี่ขัน สิรินธร บางพลัด บางอ้อ
 
จะเห็นว่า ถนนรัชดาภิเษก หรือถนนค่อนข้างพิเศษและสำคัญมากในกรุงเทพมหานคร เพราะถนนเส้นนี้ ได้ตัดผ่านรถไฟฟ้าสายสำคัญอย่างสายสีน้ำเงินถึง16 สถานีเลยทีเดียว และยังเป็นถนนที่ตัดผ่านกับแหล่งธุรกิจสำคัญๆของกรุงเทพอีกหลายๆแห่งอีกด้วย

2/8/2024 5:21:33 PM