ทะเบียนบ้านสีเหลืองกับสีน้ำเงิน ต่างกันอย่างไร?
ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขประจำบ้านของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้น ๆ ซึ่งทะเบียนบ้านหนึ่งหลังจะมีจำนวนคนอยู่อาศัยได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีคนอยู่อาศัยได้ 1 คน ต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตร ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจะมีได้แค่ 1 คน
แล้วเคยสงสัยกันไหมครับว่า ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท และมีกี่สี แต่ละสีทำอะไรได้บ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้หายสงสัยกันครับ
ทะเบียนบ้าน มี 2 ประเภท คือ
1.ทะเบียนบ้านต่างชาติ แบบ สีเหลือง ท.ร.13
-เป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับกาผ่อนผันให้ อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ใน กรณีที่คนต่างชาติเป็นสามีหรือภรรยาคุณ ถ้าหากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้านให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ท.ร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านเอกสารที่เตรียมไป คือ สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หนังสือ เดินทางของคนต่างชาติ ทะเบียนสมรสใบอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานหรือหลักฐานอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ ในประเทศไทยเป็นการถาวรหรือชั่วคราว
-ในกรณีที่ คนต่างชาติชื้ออพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดเป็นของเจ้าของ ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดย ชอบด้วยกฎหมายและได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวหรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุด ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้นและมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ท.ร.13) โดยนำหลักฐานตามข้อ1 ไปติดต่อสำนักงานเขตที่อาคารนั้นตั้งอยู่
-กรณีที่มีการชื้อคอนโด มีชื่อทั้งคนต่างชาติ และคนไทยร่วมด้วย เวลาไปทำทะเบียนบ้านใครจะได้เป็นเจ้าบ้านการเป็น เจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น เจ้าบ้านหมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดก็ตาม หน้าที่ของเจ้าบ้านเจ้าบ้านเป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 เช่นการแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งบ้านที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน ดัง นั้นเมื่อคนต่างด้าวและคนไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ควรให้คนไทยเป็นเจ้าบ้านเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะสื่อสารภาษาไทยได้ดีกว่าคนต่างชาติ
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ เมื่อต้องการทำทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ท.ร.13) ได้แก่
1.สำเนา Passport
2.หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับชาวต่างชาติ ที่ออกให้โดย ตม.
3.ทะเบียนสมรส
4.สูติบัตร
5.รูปถ่าย 2 นิ้ว 5 รูป ใช้ 2 รูปที่ด่าน ตม. อีก 3 รูปที่สำนักงานเขต
6.สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่จะทำการแจ้งให้ชาวต่างชาติเข้ามาพักอาศัย
7.พยานบุคคล 2 คน พร้อมทั้งสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของพยาน
2.ทะเบียนบ้าน สีน้ำเงิน แบบ ท.ร.14 สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
เป็นทะเบียนบ้านสำหรับผู้มีสัญชาติไทย ที่เราจะเห็นใช้กันทั่วไป โดยมี “เจ้าบ้าน” ที่มีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งการครอบครองนี้อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นก็ได้ และหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายทะเบียนราษฎร ได้กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้
1.มีคนเกิดในบ้าน
2.มีคนตายในบ้าน
3.มีคนย้ายเข้า-ย้ายออก
4.มีสิ่งปลูกสร้างใหม่
5.ขอเลขบ้านใหม่
6.เมื่อมีการรื้อถอนบ้าน
โดยที่เกือบทุกกิจกรรมจะต้องทำการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นายทะเบียน ภายในระยะเวลา 15 วันหลังจากที่มีการกระทำการทำอันใดไปแล้ว ยกเว้นเสียแต่หากมีคนเสียชีวิต จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา 24 ชม. หากไม่แจ้งถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
-ทะเบียนบ้านชนิดนี้จะใช้เป็นเอกสารการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ เพราะการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะได้มากจากโฉนดที่ดินเท่านั้น
-ทะเบียนบ้านของ “คอนโด” กับทะเบียนบ้านของ “บ้าน” จะไม่ต่างกัน เพราะมีเล่มทะเบียนบ้านที่เหมือนกัน จะแตกต่างกันที่ร้ายละเอียดที่ระบุไว้ข้างในเล่มทะเบียนบ้าน ว่าลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นประเภท “อาคารชุด” หรือ “บ้าน” เท่านั้น
-ไม่สามารถใช้ทะเบียนบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เพราะตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ของกรมที่ดินที่กำหนดไว้ว่า มีเพียงโฉนดที่ดินหรือหนังสือกรมสิทธิห้องชุดเท่านั้น ที่สามารถจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันประเภทจำนองได้
-หลังจากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครบ 1 ปี เราสามารถขายบ้าน หรือคอนโดมิเนียมนั้น ๆ ได้โดยไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ในอัตรา 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมิน แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน) จะชำระเพียงค่าอากรแสตมป์ 0.5% และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) เท่านั้น.
บทความที่เกี่ยวข้อง
10/17/2019 11:50:18 AM